วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Case Study: Dollar General Uses Integrated Software

Case Study: Dollar General Uses Integrated Software
1.       Explain why the old, nonintegrated functional system created problems for the company. Be specific.
                การขยายตัวทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของ Dollar General ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่ง ทำให้ระบบ IT แบบเดิมที่ไม่มีการ Integrate กันระหว่างระบบการทำงานร่วมกันในแต่ละแผนก ก่อให้เกิดปัญหาต่อบริษัทดังนี้
-                    ปัญหาจากการขาดความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลก่อให้เกิดปัญหาทางการบริหารข้อมูลที่ระบบไม่สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เช่น การขยายไปดำเนินงานที่รัฐอื่นทำให้ประสบกับปัญหาอัตราภาษีท้องถิ่นที่แตกต่างกันในแต่ละรัฐ ซึ่งต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันเพื่อบริหารจัดการความเปลี่ยแปลง
-                    ปัญหาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้องค์กรมีปริมาณงานและความซับซ้อนของงานมากขึ้นทำให้ยากต่อการบริการจัดการ ระบบไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจได้ เช่น จำนวนพนักงานและตำแหน่งงานที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ภาระงานของแผนก HR มีมากขึ้น หรือการที่รายการสั่งซื้อมีมากขึ้นทำให้การใช้ระบบบันทึกข้อมูลด้วยมืออาจก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้า ใช้เวลานานและก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
-                    ปัญหาจากการที่ระบบไม่สามารถสร้างสารสนเทศที่ทันต่อการใช้งาน เช่น ไม่มีข้อมูลมาสนับสนุนการตัดสินใจ ฯลฯ เนื่องจากมีข้อมูลที่ต้องบริหารจัดการมากขึ้น  ระบบเดิมที่ไม่มีศูนย์กลางการเชื่อมต่อกันระหว่าง Information Flow ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพแบะประโยชน์สูงสุด
                ดังนั้นจากปัญหาทั้งหมดจึงเกิดแนวคิดที่ว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถ Integration ระหว่าง Information system ในแต่ละฝ่ายงานเดิมที่มีอยู่ได้
2.       The new system cost several million dollars. Why, in your opinion, was it necessary to install it?
                แม้ว่าการติดตั้ง New system ของ Dollar General จะก่อให้เกิดต้นทุนมหาศาลก็ตาม แต่การตัดสินใจลงทุนในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์การดำเนินระยะยาวของบริษัทที่ต้องการลงทุนทางด้าน IT System เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับธุรกิจได้ในอนาคต โดยประโยชน์จากการที่บริษัทจะได้รับมีดังนี้
-                    ระบบใหม่สามารถรองรับการทำงานร่วมกันระหว่างแต่ละหน่วยงานในบริษัท เนื่องจากสามารถ Integrated ข้อมูลเข้าด้วยกัน จึงช่วยลดอุปสรรคในการทำงานและก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานระหว่างแผนก
-                    ระบบใหม่สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทได้เนื่องจากเป็นระบบที่ scalable จึงสอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ในการขยายกิจการของบริษัท
-                    ระบบใหม่จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจาก web-based application นอกจากจะทำให้สามารถควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้แล้วยังทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แม้ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ดังนั้นพนักงานและผู้บริหารจะสามารถเรียกดูข้อมูลที่เพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
-                    ระบบใหม่ช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เป็นผลจากการมี Information Flow ที่ดีขึ้นทั้งในและนอกองค์กร ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมาใช้ได้ในทุกส่วนงาน เช่น การบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้สามารถประเมินผลงาน  ให้ผลตอบแทนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-                    ระบบใหม่จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานเนื่องจากขั้นตอนการดำเนินงานลดลง ความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานลดลง ความผิดพลาดในการดำเนินงานลดลง ส่งผลให้การดำเนินงานรวมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-                    ระบบใหม่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในบริษัทได้ง่ายขึ้นจากการแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน
                โดยจะเห็นว่าการนำระบบใหม่มาใช้นอกจากจะสามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทแล้วยังก่อให้เกิดประโยชนีอีกมากมาย ซึ่งในความคิดเห็นของข้าพเจ้าแล้วระบบที่ Dollar General ควรให้ความสนใจก่อน คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับการเงินการบัญชีและภาษี เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาความแตกต่างทางด้านภาษี นอกจากนี้ยังช่วยให้การบริหารจัดการข้อมูลทางการเงินทั้งจากร้านสาขาและ Supplier เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การนำระบบ EDI มาใช้ในการสั่งซื้อสินค้าจาก Supplier ฯลฯ ซึ่งการพัฒนาระบบข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้บริษัทมีขีดความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว
3.       Lawson Software Smart Notification Software (lawason.com) is being considered by Dollar General. Find  information about the software and write an opinion for adoption or rejection.
                Lawson Smart Notification Software เป็นระบบที่ช่วยคัดกรองข้อมูลให้แก่บุคคลที่ต้องกใช้ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว และทันต่อความต้องการในการใช้งาน ด้วยการติดตามแหล่งข้อมูล คัดกรองข้อมูลที่ไม่สำคัญ และจัดทำสารสนเทศที่เข้าใจง่ายเพื่อช่วยในการตัดสินใจแก่พนักงานในองค์กรทุกระดับ จึงช่วยให้การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากและต้องอาศัยการตัดสินใจอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะเห็นได้ว่าลักษณะเด่นของ software สอดคล้องกับลักษณะกิจการที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่และกลยุทธ์การขยายตัวที่ต้องการขยายสาขาเป็นอย่างมาก จึงต้องอาศัยระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที
                อย่างไรก็ตามการจะตัดสินใจลงทุนใน Software หรือไม่นั้นควรพิจารณาถึง Cost/Benefit Analysis เพื่อที่จะบอกให้ได้ว่าการลงทุนในครั้งนี้คุ้มค่าหรือไม่ โดยอาจพิจารณาจากต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลงจากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น Order จากลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจากความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นหรืออาจพิจาณาจากความัสมพันธ์ระหว่าง Supplier และลูกค้ากับบริษัทที่ดีขึ้นจาก Information Flow ระหว่างกัน ช่วยให้การดำเนินงานร่วมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและเวลาในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการพิจารณาเพียงปัจจัยภายในด้านความคุ้มค่าที่เกิดจากการลงทุน อย่างไรก็ตามบริษัทควรพิจารณาถึงปัจจัยภายนอกด้วย เช่น การที่ Dollar General ธุรกิจค้าปลีกที่มีสภาพการแข่งขันที่รุนแรง มีคู่แข่งรายใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ประกอบกับกลยุทธ์การขยายตัวของกิจการ ดังนั้นระบบ Information Flow ที่มีประสิทธิภาพ การตัดสินใจที่ถูกต้องและรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญสำคัญบริษัททำให้การลงทุนน่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่าสำหรับบริษัท
4.       Another new product of Lawson is Services Automation. Would you recommend it to Dollar General? Why or why not?
            Services Automation ของ Lawson เป็น Software ที่ช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากร เวลา ค่าใช้จ่าย รวมไปถึงเรื่องการเงิน ประกอบไปด้วนส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
- Opportunity management ช่วยวิเคราะห์ยอดรายได้ และคาดการณ์ปริมาณสินค้าที่ต้องผลิต
- Project Management ช่วยวิเคราะห์การลงทุนในปัจจุบัน โอกาสในการลงทุนจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
- Resource Management ช่วยวิเคราะห์การบริหารจัดการทรัพยากรที่มี และเสนอแนะทางเลือกที่เหมาะสม
                โดยข้าพเจ้าคิดว่า Dollar General ควรนำระบบนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจในโครงการลงทุนใหม่ๆของบริษัทและบริหารจัดการทรัพยากรที่มีให้เกิดประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามควรระวังปัญหาเรื่องการเรียนรู้ในการเปลี่ยนแปลงระบบเนื่องจากเพิ่งนำระบบใหม่มาใช้ในการบริการจัดการ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่พร้อมกับหลายระบบอาจก่อให้เกิดควมสับสนได้ จึงต้องมีการเตรียมพร้อมให้ความรู้แก่พนักงานก่อนที่จะนำระบบมาใช้

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Class 3: TPS 22/11/53

Transaction process system (TPS)
                TPS หรือ ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง พัฒนาครั้งแรกในปี 1950 หลังช่วงสงครามโลก ช่วยในเรื่องการทำงานที่มีลักษณะซ้ำๆกัน โดยทำหน้าที่รวบรวม Transaction ที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กร ทำให้ระบบนี้เป็นระบบพื้นฐานที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินงานขององค์กร เนื่องจากข้อมูลที่เข้าไปอาจถูกนำไปใช้ต่อในระบบอื่นดังนั้นความถูกต้องของข้อมูลที่ใส่เข้าไปในระบบจึงมีความสำคัญมากป้องกันการเกิดปัญหา GIGO

คุณสมบัติ TPS
1.                Reliability
2.               Standardization
3.               Controlled access

ลักษณะของ TPS
·      รองรับการประมวลผลจำนวนมาก
·      ข้อมูลส่วนใหญ่จะมาจากภายใน และผลที่ได้มักตอบสนองการใช้งานภายในเป็นหลัก
·       มีการประมวลผลข้อมูลต้องมีการจัดทำเป็นประจำ
·       ระบบต้องมีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
·        มีการประมวลข้อมูลที่รวดเร็ว
·       ข้อมูลที่ป้อนเข้าและผลิตออกมีลักโษณะโครงสร้างชัดเจน
·        ความซับซ้อนของเทคโนโลยีมีน้อย
·        มีการรักษาความปลอดภัย และรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
·        การประมวลผลมีความน่าเชื่อถือสูง

วงจรของการประมวลผล
1.              Data entry ขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ  เช่น POS ในร้านสะดวกซื้อ
2.               Transaction processing การประมวลผลมี 2 แบบ
-real time ข้อมูลถูกประมวลผลในทันที/ online/require high fault tolerant
-batch เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนแล้วค่อยทำการประมวลผล ไม่จำเป็นต้องออนไลน์
3.               Data base updating การบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลและจัดการกับฐานข้อมูล ต้องคำนึงถึงความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูล
4.               Document report ผลิตรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบรายการขาย ใบแสดงสถานะของลูกค้า ใบแสดงสินค้าคงเหลือ
5.               Inquiring processing รับคำร้องสอบถามข้อมูลจากผู้ใช้ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ตลอดทั้งระบบจัดการฐานข้อมูล  นำเสนอในรูปแบบเอกสารสำหรับพิมพ์ หรือแสดงออกมาทางหน้าจอ 

วัตถุประสงค์ TPS
1.               ตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นประจำวัน
2.               ผลิตและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบประเภทอื่นๆ
โดยผู้ใช้งาน TPS จะเป็นผู้ทำงานในระดับปฏิบัติการและควบคุมดูแลระดับล่าง

 Marketing Information System Application
-mass customization DELL and Jaguar
-PersonalizationCar and car insurance
-Advertising and Promotion Target market through e-mail
-Improving shoppingRFID tag payment  เช่น self service

Human Resource  Information System
- payroll, work time, recruitment online, training, benefit admin, requiring
- Training device เช่น virtual reality ,interactive simulation (เกมส์ขับเครื่องบิน ของกัปตันฝึกหัด)

Web analytic tool
                เช่น Google Analytic ที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในการเข้าชมเว็บไซด์


In house Logistic and material management
E-Procurement
                E-Procurement  เป็นระบบการสั่งซื้อเครื่องใช้สำนักงานระหว่างบริษัทกับบริษัทเช่น office mate  (Slogan “สั่งของวันนี้ ได้พรุ่งนี้เลย”) โดยธนาคารทิสโก้ ใช้บริการ E-procurement ในด้านการจัดซื้อเนื่องจาก สะดวก ใช้งานง่าย ประหยัด ค่าใช้จ่ายในด้าน admin เนื่องจากไม่ต้องผ่านฝ่ายจัดซื้อ โดยก่อนเริ่มใช้งานต้องให้ความรู้กับการใช้งานก่อน
Improve shopping &Checkout at retail store
                นำ Technology RFID เข้ามาช่วย เช่น easy-pass(ทางด่วน)
ตัวอย่างการนำ TPS มาใช้ :
Case Dartmouth-Hitchcock Medical Center
                เดิมสต็อกของสินค้าในโรงพยาบาลต่างจะถูกบริหารโดยหมอและพยาบาล ซึ่งทำให้ลำบากต่อการสั่งของเนื่องจากไม่รู้ว่าต้องสั่งเมื่อไหร่ เท่าไหร่ ทำให้ระบบการสั่งของไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาไม่ให้ของ Under or over stock จึงนำเอาระบบ TPS เข้ามาใช้ ผ่านการใช้ wireless-handheld ในการแสกนสินค้าที่ออกมาจากสต็อกจะได้รู้ว่าเมื่อไรควรสั่งสินค้าเพิ่ม
Case TAXI in Singapore
                การนำระบบ GPS มาใช้เพื่อให้ Call Center รู้ว่ามี taxi คันไหนกeลังให้บริการอยู่ใกล้เคียงลูกค้าและเมื่อ Taxi ตกลงว่าจะไปรับลูกค้า ระบบก็สามารถเช็คได้ว่า Taxi คันนั้นไปรับลูกค้าตามนัดหรือไม่ ถึงแล้วหรือยัง

Presentation
1. RFID: Radio Frequency Identification
                ระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ Auto ID แบบไร้สาย (wierless) ซึ่งเป็นการระบุเอกลักษณ์วัตถุ หรือตัวบุคคลโดยใช้คลื่น เช่น การใช้ barcode และการสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งระบบนี้จะมีความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างน่าเชื่อถือ โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็น RFID Tag ที่สามารถอ่านค่าผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่างเพื่อติดตามและบันทึกข้อมูลจากป้ายที่ติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ระบบบันทึกข้อมูลการจัดการการผลิตสินค้าในโรงงาน การจำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า  หรือบัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น
RFID ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. TAG มี 2 แบบคือpassive และ active โดย active จะสามารถในการส่งข้อมูลได้ดีกว่า
2. Reader ทำหน้าที่แปลผลข้อมูล

2. Speech Recognition
                ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแปลงเสียงพูด (Audio File) เป็นข้อความตัวอักษร (Text) โดยสามารถแจกแจงคำพูดที่มนุษย์พูดใส่ไมโครโฟน โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่นๆ และเข้าใจคำศัพท์ทุกคำอย่างถูกต้องเกือบ 100%  สามารถนำไปใช้งานได้หลายอย่าง เช่น หมอ พยาบาล ทหาร หรือผู้ที่ไม่ถนัดการพิมพ์ ทนายความที่ต้องการความรวดเร็วในการบันทึกการไต่สวนในศาล การแปลอัตโนมัติ นักบินที่ต้องการใช้ระบบนักบินสั่งการอัตโนมัติ การสั่งการภายในรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ หุ่นยนต์ วีดีโอเกมส์ เป็นต้น

3. Virtualization
                เทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องแม่ข่าย (Server) หนึ่งเครื่อง สามารถมีระบบปฎิบัติการ (Operating System : OS) หรือระบบเสมือน (Virtual System) อยู่ภายในได้มากกว่าหนึ่งระบบ ทำหน้าที่บริหารจัดการให้ระบบปฎิบัติการหลายๆ ตัวสามารถทำงานได้ในเครื่องเดียว ทำให้สามารถช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องแม่ข่าย และช่วยให้สามารถใช้งานเครื่องแม่ข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการระบบที่ดีขึ้นด้วย

4. Case Forensic accounting
                การใช้ทักษะด้านการเงินและแนวคิดด้านการสืบสวนสอบสวนเพื่อตรวจสอบความทุจริตในองค์กร
                รูปแบบของการทุจริตผ่านระบบ IT
1.       การฉ้อโกงโดยใช้ระบบคอม
2.       การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบคอม
3.       การทำลายระบบคอม เช่น การส่งข้อมูลรบกวน
                ตัวอย่างวิธีในการทำทุจริต
1.     การปลอมแปลงอีเมล์ หรือ เวปไซต์
2.     การปลอมแปลงหมายเลข IP เพื่อเจาะเข้าไปในเครือข่าย
3.     การดักฟังข้อมูล หรือขโมยข้อมูลระหว่างทาง
4.     Salami technique โกงข้อมูลในด้านตัวเลข เช่น ทศนิยม 


วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Case 2 FedEx



1. Identify network cited in this case
                บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ของ FedEx ผ่าน E-shipping ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะของพัสดุที่ส่งได้จาก website ของบริษัทว่าขณะนี้พัสดุของเราจัดส่งไปถึงไหนแล้ว หรือ E-Commerce ที่ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างระบบ Transportation และ information system โดยระบบข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้จะถูกนำมาใช้หลากหลายรูปแบบตามแต่วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น ระบบ FedEx PowershipMC, FedEx Ship Manager Server, FedEx ShipAPITM ,  FedEx Net-Return®  เป็นต้น อย่างไรก็ตามระบบเหล่านี้ล้วนทำงานอยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า “FedEx Direct Link”  ซึ่งดำเนินงานภายใต้ Network ต่างๆดังนี้
-          Internet เครือข่ายพื้นฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานของ FedEx เนื่องจากเป็นตัวเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องให้สามารถทำงาน ติดต่อสื่อสาร และแบ่งปันข้อมูลร่วมกันบนเครือข่าย 
-          Global Virtual Private Network (VPN) ระบบเครือข่ายในองค์กรที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้แม้อยู่นอกเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขององค์กร โดย VPN จะทำให้การเชื่อมต่อผ่านเครือบข่ายนอกอาคาร (WAN) ทำให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสารธารณะให้เสมือนการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจากภายในองค์กรด้วยการ Log in รหัส IP เฉพาะสำหรับผู้ใช้งานนั้นๆ ส่งผลให้พนักงานของ FedEx ในทั่วทุกมุมโลกสามารถทำงานอยู่บนฐานข้อมูลที่เป็นมาตรฐานชุดเดียวกัน
-          Leased-line เครือข่ายส่วนบุคคลที่ให้บริการเช่าวงจรสื่อสารความเร็วสูงในลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับส่ง ภาพ เสียงและข้อมูล จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย
-          Valued Added Network (VAN) เครือข่ายกึ่งสาธารณะเชื่อมโยงแบบไร้สาย ให้บริการมากกว่าการสื่อสารปกติ นอกจากนี้ยังมีความเร็วและปลอดภัยมากกว่าเครืออข่ายสาธาณะ เหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารกับ Business partner

2. How does IT improve performance of FedEx?
                พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน เนื่องจากพนักงานทุกคนในองค์กรสามารถติดต่อสื่อสาร แบ่งปันข้อมูลร่วมกันและนำข้อมูลมาใช้ได้ในทุกที่ทุกเวลาบนมาตรฐานเดียวกันในแต่ละสาขา จึงทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดต้นทุนทั้งที่เป็นตัวเงินและเวลาในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานได้อีกด้วย
                พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้องบน Supply Chain เนื่องจากมีระบบการแบ่งปันข้อมูลร่วมกันทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากการติดต่อสื่อสารกันและลดความขัดแย้งระหว่างข้อมูลที่ไม่ตรงกัน และลดความผิดพลาดที่เกิดจากการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลได้
                เพิ่ม Competitive Advantage เห็นได้จากการที่ FedEx พยายามเปลี่ยน Position จากการเป็น Shipper ให้กลายเป็นผู้ให้บริการด้าน Logistic แทน ส่งผลให้มีรายได้จากหลากหลายแหล่งมากขึ้น

3. In what ways are personalization and customization provided?
            การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ของ FedEx ก่อให้เกิดผลสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่ FedEx สามารถให้บริการลูกค้าได้ตามความต้องการทั้งลูกค้าแบบองค์กรธุรกิจและลูกค้าทั่วไป ซึ่ง 2 กลุ่มนี้มักมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องให้บริการที่แตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่การที่ลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบ ลักษณะการบริการและวิธีการชำระเงินได้ตามความต้องการเฉพาะของตนเองผ่านทางหน้า website นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถตรวจสอบสถานะของพัสดุที่ตัวเองจัดส่งได้ด้วยตนเองอีกด้วย ตัวอย่างการให้บริการแบบนี้ เช่น ShipAPI™  เป็น Application ที่มีความปลอดภัยสูงสามารถ Customized รูปแบบระบบของตัวเองได้

4. What are benefits to customers?  
- อำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับองค์กรเพียงผ่านทางหน้าเว็บ ลูกค้าสามารถขอดูข้อมูลได้หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
- ลูกค้าได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งสินค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด รวดเร็ว ถูกต้อง ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับสินค้าไม่ทันเวลา
- มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างลูกค้ากับองค์กรนำไปสู่การพัฒนาระบบร่วมกัน  
- หากลูกค้าเป็นองค์กรธุรกิจ การที่ FedEx นำระบบสารสนเทศมาใช้ช่วยให้ต้นทุนการดำเนินงานของลูกค้าต่ำลง เนื่องจากคาดการณ์สินค้าได้ ลดต้นทุนการ stock สินค้า และหากต้องมีการขนส่งสินค้าเป็นจำนวนมากแต่เราไม่มีความเชี่ยวชาญ อาจ outsource ให้ FedEx ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทำแทนแล้วเราก็ Focus เฉพาะ Core business ของเรา



วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คาบที่ 2 วิชา AI613 วันที่ 15/11/53


 
บทที่

                เริ่มต้นจากการยกตัวอย่าง Case: Mary Kay เป็นบริษัทเครื่องสำอางค์คล้ายกับ Mistine ไม่มี counter แต่มีพนักงานขายของตัวเอง โดยพนักงานต้องสั่งซื้อสินค้าจาก catalog มาเก็บไว้ที่บ้านแล้วค่อยนำไปขายตามบ้าน ซึ่ง Mary Kay เป็นบริษัทที่มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ได้เป็นอย่างดี เช่น การนำ Social Network มาใช้บริหารจัดการกับ Customer Relationship พนักงานสามารถเช็คสต็อกสินค้าได้ผ่านมือถือ ฯลฯ ซึ่งระบบสารสนเทศช่วยให้การดำเนินงานของ Mary Kasy มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบัน Mary Kay มีพนักงานกว่า 400,000 คน 

                ตัวอย่างข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำระบบสารสนเทศมาใช้กับองค์กรธุรกิจโดยจะเห็นว่าปัจจุบันทุกหน่วยงานขององค์กรล้วนมีระบบสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย Production, Sales & Marketing, Finance & Accounting และHuman Resource ฯลฯ แสดงให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของระบบ IS ในองึ์กรธุรกิจ ซึ่งการนำระบบสารสนเทศมาใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยเราสามารถให้ความหมายของคำว่า Information Systems ได้ดังนี้
-          ข้อมูล(data) คือ สิ่งที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ความหมายน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถนำทำประโยชน์ได้ยาก
-          ระบบสารสนเทศ (IS) คือ ข้อมูลที่มีความหมาย ได้จากการเอา data มาผ่านกระบวนการเป็น information  และสุดท้ายพัฒนาไปสู่การเป็น knowledge
-          ความรู้ (knowledge) คือ องค์ความรู้ที่แม้ว่าจะถูกตอนนี้แต่อาจจะผิดตอนหลังก็ได้

                จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่าแม้ว่าทุกองค์กรจะมี data มากเพียงใดแต่หากไม่สามารถนำมาทำเป็นระบบสารสนเทศได้ ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้จากข้อมูลที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั่วทั้งองค์กร สร้างรากฐานการเจริญเติบโตของธุรกิจแบบยั่งยืน ดังนั้นความสำคัญของระบบข้อมูลสารสนเทศจึงเริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนไปจนถึงการนำไปใช้อย่างถูกวิธี

                ระบบข้อมูลโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระดับ (Level of Information System) ดังนี้   
                1. Personal  Productivity System ระบบให้ความช่วยเหลือแง่บุคคล เช่น โทรศัพท์มือถือ ไว้พูดคุยรับส่งข้อมูล
                2. Transaction Processing System (TPS) ระบบคอยดูแลการเปลี่ยนแปลงและบันทึก Transaction ทีเกิดขึ้นทั้งหมดในองค์กร เป็นระบบที่ทุกองค์กรต้องมีและมีความสำคัญที่สุดเนื่องจากหากมีการบันทึกข้อมูลผิดพลากจะทำให้การนำไปใช้ในระดับอื่นผิดพลาดตามไปด้วย
                3. Function & Management Information System               ระบบที่คอยรองรับการทำงานต่างๆของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน โดยไม่เชื่อมกับหน่วยงานอื่น เนื่องจากอาจเป็นเพราะระบบสารสนเทศที่มีราคาแพง หรือข้อมูลเป็นความลับ
                4. Enterprise Systems Integrates (ERP) ระบบที่link ทุกหน่วยงานในองค์กรและนอกองค์กร เช่นร Supplier
5. Inter organizational Systems ระบบที่คอยเชื่อมโยงหน่วยงานในระดับสากลเข้าด้วยกัน เช่น การติดต่อกับสาขาในต่างประเทศ
6. Global Systems ระบบขนาดใหญ่ที่ใช้ติดต่อกันทั่วโลก
7. Very Large & special Systems  

                จากความแตกต่างรของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นทำให้ต้องมีการบริหารจัดการระบบข้อมูลที่แตกต่างรกันตามวัตถุประสงค์การใช้จึงเกิดเป็น Management Information Systems ขึ้น โดย MIS เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการนำ IS มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเริ่มจากนำ Input จาก TPS มาพัฒนาเป็น MIS แล้วทำเป็น Report เพื่อให้ Manager นำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในปัจจุบันมีมากมายดังต่อไปนี้
                Decision Support Systems (DSS) ระบบที่มีการนำข้อมูลภายนอกเข้ามาพิจารณาร่วมด้วยเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
                Group Decision Support Systems ระบบที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจเป็นเพื่อลดข้อขัดแย้งและให้สามารถนำข้อมูลมาอ้างอิงกันได้
                Executive support system (ESS) ระบบที่เป็นการนำข้อมูลจากระดับล่างมาปรับใช้ต่อยอดจาก DSS และ MIS ให้สามารถนำข้อมูลมา Compare และ Contrast กันได้ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงใช้ในการจัดสินใจ

                นอกจากการนำระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในองค์กรแล้วยังมีการนำมาใช้กับหน่วยงานนอกองค์กรอีกด้วย เช่น การใช้ CRM เพื่อบริหารจัดการกับลูกค้าทำยังไงให้ลูกค้าใช้เงินกับเรามากขึ้นและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าไว้ หรือระบบ Supply Chain Management Systems เพื่อบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกับ Supplier ให้มีต้นทุนต่ำที่สุด Value สูงสุด เป็นต้น จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น Internet,  Intranet ภายในองค์กรที่มีความปลอดภัยมากขึ้น , Extranet ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างองค์กรและมีความปลอดภัยสูง, Collaboration and communication system ช่วยในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร, e-business เน้นการซื้อขายระหว่างอค์กรธุรกิจ, e-commerce การซื้อขายระหว่างองค์กรและคนทั่วไป ฯลฯ ซึ่งแต่ละระบบล้วนมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันทำให้เราต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบ MIS เพื่อให้สามารถเลือกและนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด